ขายหมดเกลี้ยง! แห่ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น “ออมเพิ่มสุข” ผ่านวอลเล็ต สบม.แอปเป๋าตัง เต็มวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทแล้ว เปิดขายอีกรอบ 15 มิ.ย.65 วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท วันที่ 13 มิถุนายน 2565 หลังจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น ‘ออมเพิ่มสุข’ บนวอลเล็ต สบม. แอปพลิเคชันเป๋าตัง รุ่นอายุ 5 และ 10 ปี โดยเปิดจำหน่ายตั้งแต่เวลา 08.30 น.ของเช้าที่ 13 มิ.ย. 65
ล่าสุดเมื่อเวลา 9.11 น. แอปเป๋าตังธนาคารกรุงไทย
ระบุข้อความสำหรับการซื้อขายพันธบัตร บนวอลเล็ต สบม. แอปฯเป๋าตัง ทั้ง 2 รุ่นคือรุ่นอายุ 5 ปี และ รุ่นอายุ 10 ปีว่า “จำหน่ายหมดแล้ว” โดยผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมเพิ่มสุขบนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 10,000 ล้านบาท จำหน่ายได้ครบวงเงินเรียบร้อยแล้วในวันแรกของการจำหน่าย
“สบน.ขอขอบคุณประชาชนที่ให้ความสนใจลงทุนพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมเพิ่มสุขบนวอลเล็ต สบม. โดยจะมีการจำหน่ายพันธบัตรอีกครั้ง วงเงิน 45,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ แบ่งเป็น (1) เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2565 จำหน่ายให้แก่ประชาชน วงเงิน 40,000 ล้านบาท 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ยร้อยละ 2.90 ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ยร้อยละ 3.60 ต่อปี”
“โดยจะจำกัดวงเงินรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท จนถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2565 และเริ่มจำหน่ายแบบไม่จำกัดวงเงินตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 ภายใต้วงเงินที่เหลือจากช่วงแรก และ (2) เริ่มวันที่ 20 มิถุนายน 2565 จำหน่ายให้แก่นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรที่กระทรวง การคลังกำหนด วงเงิน 5,000 ล้านบาท”
“อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ยร้อยละ 3.30 ต่อปี ผู้สนใจสามารถสอบถามเงื่อนไข และวิธีการจัดจำหน่ายได้ที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง หรือติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ”
สำหรับพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น ออมเพิ่มสุข สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดจำหน่ายวงเงินรวม 55,000 ล้านบาท โดยแบ่งการจำหน่าย เป็น 2 รุ่น คือ
รุ่น ออมเพิ่มสุข บนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 1 หมื่นล้าน บาท จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 13 – 30 มิถุนายน 2565 (จำหน่ายหมดแล้ว) มี 2 รุ่นอายุ รุ่นอายุ 5 ปี จ่ายแบบขั้นบันไดดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.90% และรุ่นอายุ 10 ปี จ่ายแบบขั้นบันไดดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.60% จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน หรือปีละ 4 งวด
รุ่นออมเพิ่มสุข ขายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท จำหน่ายให้แก่ประชาชนและนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร โดยจะแบ่งการจำหน่ายเป็น 2 ช่วง ได้แก่
ช่วงที่ 1 (15 – 19 มิถุนายน 2565) วงเงิน 40,000 ล้านบาท เปิดจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยซื้อได้ไม่เกิน 10 ล้านบาท มี 2 รุ่นอายุ รุ่นอายุ 5 ปี จ่ายแบบขั้นบันไดดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.90% และรุ่นอายุ 10 ปี จ่ายแบบขั้นบันไดดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.60% จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน หรือปีละ 4 งวด
ช่วงที่ 2 ( 20 – 30 มิถุนายน 2565) จำหน่ายให้นิติบุคคลไม่แสวงหากำไรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด วงเงิน 5,000 ล้านบาท รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ยร้อยละ 3.30 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
ค่า FT เพิ่มขึ้น ทำให้ค่าไฟแพงขึ้น จริงไหม ?
ค่า Ft จะมีทั้งเพิ่มขึ้น หรือลดลงได้ ก็ขึ้นอยู่ที่ราคา และสัดส่วนการใช้พลังงานแต่ละช่วงว่ามีราคาแพงขึ้นหรือไม่ เนื่องจากสำหรับต้นทุนการผลิตไฟฟ้ากว่า 50% เกิดจากค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า
จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2550 ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเริ่มถูกลง ทั้งนี้เพราะมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินเพิ่มขึ้น โดยเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (BLCP) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP ที่ใช้ถ่านหินนำเข้าจากออสเตรเลียเป็นเชื้อเพลิง
ดังนั้นสัดส่วนชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคาค่าไฟฟ้า เพราะเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีราคาแตกต่างกันนั่นเอง
จะเห็นได้ว่า ค่าไฟฟ้าฐาน ยังคงมูลค่าเท่าเดิม แต่ในส่วนของ ค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) จะมีค่าเป็น 10 เท่าของหน่วย อีกทั้งยังมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องใช้ค่า FT ในการคำนวณด้วยเช่นกัน
ทำให้ค่าไฟ 1000 หน่วย ที่ในเดือนเมษายน 2565 ต้องจ่าย 4,546.94 กลายเป็นว่าในเดือนเมษายน 2565 ต้องจ่าย 4,797.11 บาท นั่นเอง
บัตรเดบิตจากธนาคารยูโอบีมาพร้อมสโลแกนที่ว่า “บัตรเดียวทั่วโลก ไม่ต้องพึ่งเงินสด” ซึ่งก็สอดคล้องกับเงื่อนไขฟรีค่าธรรมเนียมการทำรายการ เบิก ถอน เงินสด หรือ สอบถามยอดเงินระหว่างประเทศ ได้จากตู้เอทีเอ็มของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียได้ แต่จะมีค่าธรรมเนียมการเปิดบัตรเดบิตครั้งแรก 100 บาท และค่าธรรมเนียมรายปี 300 บาท
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป