NASA เปิดเผยถึงผลกรทดลอง อุกกาบาตชนโลก ผลการลองชี้ว่า มนุษยชาติ ยังไม่พร้อมรับมือกับเหตุการณ์นี้ และเป็นเรื่องที่หาวิธีป้องกันได้ยากมาก องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ได้รายงานผ่านสำนักข่าว Scientific American เกี่ยวกับแบบจำลองล่าสุดของพวกเขานั่นคือ แบบจำลองอุกาบาตชนโลก เสมือนจริง
โดยในการทดลองนี้ทางนาซ่า ได้รับอาสมัคร (ไม่ทราบจำนวน)
จำลองอสถานการณ์ว่ามีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยบนเส้นทางโคจรสู่โลก และกำลังจะพุ่งชนโลกในอีกไม่กีวันข้างหน้า โดยที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ดาวเคราะห์กำลังมุ่งหน้ามา ขนาด และแนวโน้มที่จะเกิดการชน จนถึงผลกระทบของก่อนและหลังการชนของอุกอาบาต
ทั้งนี้ทางนาซ่ามีความเชื่อว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจริง พวกเขาสามารถแก้ปัญหานี้ได้ทันเวลา จากการที่เมื่อเดือนตุลาคม 2022 ที่ผ่านมา ได้เริ่มใช้จรวจขนาดเล็ก เบี่ยงวิถีโคจรอุกกาบาต ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็เป้นที่น่าพอใจ
แต่ในการทดลองนี้กลับยังไม่เป็นไปตามคาดของ NASA มากนัก เพราะผู้เข้าร่วมการทดสอบกลับไม่สามารถทำอะไรเพื่อป้องกันการชนได้ และปัญหาหลักที่ผู้เข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการกับการให้ข้อมูลผิด ๆ เช่น “ผู้ไม่เชื่อในดาวเคราะห์น้อย” และ “ข่าวปลอม” จากแหล่งอื่น การทดลองนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เห็นภาพของโลกเราในความเป็นจริงว่าอาจจะเหมือนภาพยนตร์เรื่อง Don’t Look Up ในปี 2021 เป็นข้อสรุปที่ว่า มนุษยชาติยังไม่พร้อมกับเหตุการณ์นี้
องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ประกาศการค้นพบ แร่ธาตุใหม่ จากดวงจันทร์ เก็บโดยภารกิจฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) ของจีน โปร่งแสง ไร้สีไร้กลิ่น วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน และสำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งประเทศจีน ร่วมประกาศว่า คณะนักวิทยาศาสตร์จีนได้ค้นพบ แร่ธาตุชนิดใหม่จากดวงจันทร์ ผ่านการวิจัยตัวอย่างจากดวงจันทร์ที่เก็บโดยภารกิจฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) ของจีน
ต่งเป่าถง รองผู้อำนวยการสำนักงานฯ กล่าวว่าแร่ดังกล่าวเป็นแร่ชนิดใหม่ที่จีนค้นพบจากดวงจันทร์ครั้งแรก และเป็นแร่ชนิดที่ 6 ที่มนุษย์ค้นพบ โดยการค้นพบครั้งใหม่นี้ทำให้จีนเป็นประเทศที่ 3 ของโลกที่ค้นพบแร่ชนิดใหม่จากดวงจันทร์ โดยให้แร่ชนิดใหมีชื่อว่า ฉางเอ๋อไซต์-(วาย) / (Changesite-(Y))
วันที่ 12 ก.ย. สถาบันวิจัยธรณีวิทยายูเรเนียมกรุงปักกิ่ง ซึ่งอยู่ในเครือของบริษัทนิวเคลียร์แห่งชาติจีน เปิดเผยลักษณะรูปทรง 3 มิติที่ได้จากการซีทีสแกน พบว่าแร่ฉางเอ๋อไซต์-(วาย) มีลักษณะเป็นผลึกที่เรียงเป็นแนวโปร่งใสไร้สี ถูกค้นพบจากการวิเคราะห์อนุภาคหินบะซอลต์จากดวงจันทร์
ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยแร่ธาตุใหม่ การตั้งชื่อ และการจำแนกประเภทของสมาคมแร่วิทยานานาชาติ ได้อนุมัติให้ฉางเอ๋อไซต์-(วาย) เป็นแร่ชนิดใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว
27 ก.ย. ชวนส่อง ดาวพฤหัสบดีโคจรใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี ดูตาเปล่าได้ชัดแจ๋ว
เตรียมส่อง ดาวพฤหัสบดี โคจรใกล้โลกในรอบ 59 ปี สามารถมองเห็นได้ดวงตาเปล่าในคืนวันอังคาร 27 ก.ย. 65 พร้อมชมถ่ายทอดสดจาก สดร. ทั่วไทย ชวนผู้อ่านชมท้องฟ้ายามราตรีในคืนวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 เพราะ “ดาวพฤหัสบดี” จะโคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุดในรอบปี โดยตำแหน่งการโคจรของดาวพฤหัสบดีจะเข้ามาอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดี ทำให้เกิดระยะห่างจากโลกถึงดาวพฤหัสบดีประมาณ 591 ล้านกิโลเมตร ถึงแม้ว่าจะมีการรายงานเกี่ยวกับดาวพฤหัสบดีโคจรเข้าใกล้โลกในทุกปี แต่ครั้งนี้ถือว่าเป็นการโคจรใกล้โลกที่สุดของดาวพฤหัสบดีในรอบ 59 ปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2506 เลยทีเดียว
เมื่อถึงวันที่ 27 ก.ย. 65 หลังจากที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นที่เรียบร้อย ดาวพฤหัสบดีก็จะปรากฏให้เห็นทางทิศตะวันออก ซึ่งมีความสว่างมากเป็นพิเศษ เพราะอยู่ห่างจากโลกเพียง 591 ล้านกิโลเมตร จนสามารถรับชมดวงดาวได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ในประเทศไทย หากโชคดีในวันดังกล่าวไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง จนท้องฟ้าสดใส ไร้เมฆมาบดบังก็จะสามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดีที่โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดได้ตลอดทั้งคืนจนถึงเวลารุ่งเช้า
ทั้งนี้การมองดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว และมีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป ด้วยการโคจรเข้าใกล้ของดาวพฤหัสบดีจะทำให้เห็นแถบเมฆบนดาว รวมถึงดวงจันทร์กาลิเลียน บริวารของดาวพฤหัสบดีทั้งหมด 4 ดวงได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ได้อย่างชัดเจนตลอดทั้งคืน
นอกจากนี้หากผู้อ่านดูดาวพฤหัสบดีในช่วงเวลาประมาณ 21.48 – 00.04 น. จะสามารถเห็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี รวมถึงดาวเสาร์ที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนถัดจากดาวพฤหัสบดีในทางทิศตะวันตกได้อีกด้วย
ในวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ยังได้จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ชวนผู้สนใจเข้าร่วมส่องกล้องโทรทรรศน์มองแถบเมฆ และดวงจันทร์กาลิเลียนของดาวพฤหัสบดีที่จุดสังเกตการณ์หลักทั้ง 4 พิกัด ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และหอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เวลา 18.00 – 22.00 น. สามารถชมดาวพฤหัสบดีโคจรใกล้ที่สุดได้ฟรี แบบไม่มีค่าใช้จ่าย
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป